วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

BMI และ IBW

วันนี้ผมจะมาพูดถึงสิ่งที่ค้างไว้จากครั้งที่แล้วนะครับ

1. ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index; BMI)

ดัชนีมวลกาย (BMI) คือ อัตราส่วนระหว่างน้ำหนักและส่วนสูง โดยมีสูตรในการคำนวณดังนี้



น้ำหนัก (kg)
BMI = ___________
2
[ส่วนสูง (cm)]

โดยดัชนีนี้อาศัยความสัมพันธ์ระหว่าง ส่วนสูง และน้ำหนักตัวมาเป็นตัวช่วยบ่งชี้สภาวะร่างกาย ค่าดัชนียิ่งสูงมากก็ยิ่งอ้วนมาก หรือค่าดัชนีจะต่ำกว่าค่ามาตรฐานยิ่งต่ำมากแสดงว่ายิ่งผอมมาก

BMI จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้ในการคำนวณกับชายหรือหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ดังนั้นถ้าคุณอายุต่ำกว่า 20 ปี ไม่ควรใช้ BMI ในการประเมินภาวะโภชนาการของคุณนครับ ซึ่งถ้าอายุต่ำกว่า 20 ปี จะใช้เกณฑ์อะไร เดี๋ยวผมจะกล่าวในภายหลังครับ

เกณฑ์การแปลผล BMI สำหรับชาวเอเชีย

ค่า BMI (kg/m2)

การแปลผล

ต่ำกว่า 18.5

น้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน

18.5 22.9

น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ (รูปร่างสมส่วน)

23.0 24.9

น้ำหนักเกินกว่ามาตรฐาน

25.0 29.9

อ้วนระดับที 1

มากกว่า 30.0

อ้วนระดับที่ 2


ไม่ว่าคุณจะอ้วนหรือมีน้ำหนักตัวมากเกินไป ก็เป็นบ่อเกิดที่จะมีโรคตามมาได้มากมายเช่น ไขมันในเลือดสูง เส้นเลือดหัวใจตีบตัน ความดันโลหิตสูง อัมพฤต อัมพาตโรคกระดูกและ ไขข้อ โรคเบาหวาน จะเห็นว่าความอ้วนก่อให้เกิดโรคต่างๆตามมาได้อีกมากมาย


BMI สำหรับบุคคลที่อายุต่ำกว่า 20 ปี จะใช้กราฟ BMI-For

เกณฑ์การแปลผลจากกราฟ

ตำแหน่งค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ (Pr Range)

การแปลผล

ต่ำกว่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 5

น้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน

อยู่ระหว่างเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 5 ถึง 85

น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ (รูปร่างสมส่วน)

อยู่ระหว่างเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 85 ถึง 95

น้ำหนักเกินกว่ามาตรฐาน

มากกว่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 95

อ้วน


กราฟ
BMI-For-Age สำหรับเพศหญิง

Growch chart example showing range of different BMI percentiles for height and age.

กราฟ BMI-For-Age สำหรับเพศชาย

Growch chart example showing differing percentiles for same BMI.


2. น้ำหนักในอุดมคติ (Ideal Body Weight, IBW)

น้ำหนักในอุดมคติ (IBW) คือ น้ำหนักที่เราควรจะเป็นนั่นเอง โดยมีสูตรคำนวณตามนี้

- ชาย: IBW (kg) = 50 + 2.3 กิโลกรัมต่อนิ้วในส่วนที่เกิน 5 ฟุต

- หญิง: IBW(kg) = 45.5 + 2.3 กิโลกรัมต่อนิ้วในส่วนที่เกิน 5 ฟุต

แต่บ้านเราไม่ได้ใช้หน่วยความสูงเป็นฟุต เลยต้องแปลงเป็นสูตรคำนวณง่าย ๆ คือ

- ชาย: IBW (kg) = ส่วนสูง (cm) - 105

- หญิง: IBW(kg) = ส่วนสูง (cm) - 110

ทั้ง BMI และ IBW ต่างก็สามารถบอกได้ว่ารูปร่างของเรานั้นมีสมส่วนหรือไม่ แต่ทั้งนี้ BMI จัดเป็นดัชนีที่มีความชัดเจนในแง่การประเมินภาวะโภชนาการได้ดีกว่า อย่างไรก็ตาม IBW ก็ยังมีความจำเป็นอยู่ อย่างเช่นการคำนวณความต้องพลังงาน (Kcal) โดยวิธีการคำนวณ JeeJeebhoy’s Estimation (กรุณาย้อนไปดูบทความที่แล้ว) โดยจะใช้ IBW เป็นตัวคูณแทนค่าน้ำหนักของร่างกาย เพื่อจะได้คำนวณออกมาเป็นค่าความต้องการพลังงานที่เหมาะสมครับ

ในตอนหน้าผมจะเริ่มเข้าเรื่องอาหาร เราจะมาดูกันว่าธงโภชนาการของประเทศไทยหน้าตาเป็นอย่างไร แล้วมีประโยชน์อย่างไรครับ

Reference :

1. http://www.cdc.gov/healthyweight/assessing/bmi/childrens_BMI/about_childrens_BMI.html#What is BMI percentile

2. http://en.wikipedia.org/wiki/Body_mass_index

3. http://sa.ipied.tu.ac.th/temp/testBMI.php

วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

คุณมีความต้องการพลังงานในแต่ละวันเท่าไหร่ (Requirement of Caloric Intake)

คุณเคยสงสัยหรือไม่ว่าคุณต้องได้รับพลังงานจากอาหารเท่าไหร่ ?
แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าเราต้องรับประทานอาหารกี่กิโลแคลอรี

วันนี้ครับ ผมจะนำเสนอวิธีการที่จะทำให้คุณทราบว่า คุณควรจะได้รับพลังงานจากอาหารเท่าไหร่

วิธีการแรก
ตามวิธีการของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
อันนี้จะไม่ละเอียดครับ แต่ก็พอเป็นแนวทางได้
1,600 กิโลแคลอรี สำหรับ เด็กอายุ 6 - 13 ปี หญิงวัยทำงานอายุ 25 - 60 ปี ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป
2,000 กิโลแคลอรี สำหรับวัยรุ่นหญิง - ชาย อายุ 14 - 25 ปี วัยทำงานอายุ 25 - 60 ปี
2,400 กิโลแคลอรี สำหรับ หญิง - ชาย ที่ใช้พลังงานมากๆ เช่น เกษตรกร ผู้ใช้แรงงาน นักกีฬา

วิธีการที่สอง
Harris-Benedict’s equation

BEE(ผู้ชาย) = 66.5 + (13.7xน้ำหนัก[kg]) + (5xส่วนสูง[cm]) – (6.8xอายุ)
BEE(ผู้หญิง) = 655 + (9.6xน้ำหนัก[kg]) + (1.8xส่วนสูง[cm]) – (4.7xอายุ)

เมื่อได้ค่า BEE แล้วให้นำมาคูณกับ Activity Factor จะได้ความต้องการพลังงาน(กิโลแคลลอรี)ต่อวัน
คิดได้ ดังนี้

- ถ้ามีกิจกรรมน้อยมากหรือแทบไม่ออกกำลังกายเลย = BEE x 1.2
- ถ้ามีกิจกรรมน้อยหรือออกกำลังกาย 1-3 วัน/สัปดาห์ = BEE x 1.37
- ถ้ามีกิจกรรมปานกลางหรือออกกำลังกาย 3-5 วัน/สัปดาห์ = BEE x 1.55
- ถ้ามีกิจกรรมหนักหรือออกกำลังกาย 6-7 วัน/สัปดาห์ = BEE x 1.725
- ถ้ามีกิจกรรมหนักมากหรือเป็นผู้ใช้แรงงานหรือนักกีฬา = BEE x 1.9

วิธีการที่สาม
JeeJeeBhoy’s estimation

เป็นวิธีคิดที่คิดง่ายอีกวิธีหนึ่ง แต่ใช้ได้เฉพาะวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุเท่านั้น
โดยความต้องการพลังงาน(กิโลแคลลอรี)ต่อวัน สามารถคิดได้ ดังนี้


1. ผู้ใหญ่ : นอนอยู่เฉยๆ 20-25 (kcal) x น้ำหนัก(kg)
2. ผู้ใหญ่ : เดินไปเดินมาได้ 30 (kcal) x น้ำหนัก(kg)
3. ผู้สูงอายุ 25 (kcal) x น้ำหนัก(kg)
4. ผู้สูงอายุมากกว่า 80 ปี 20 (kcal) x น้ำหนัก(kg)

** วิธีการที่สามนี้ควรใช้น้ำหนักเป็น น้ำหนักในอุดมคติ(Ideal Body Weight) ซึ่งจะมาสอนในหัวข้อต่อ ๆ ไปครับ

จริง ๆ แล้ววิธีการคำนวณความต้องการพลังงานมีหลายวิธีครับ แต่ผมเลือกมาที่นิยมใช้และใช่ง่าย ซึ่งแต่ละวิธีก็มีค่าไม่ต่างกันมากนัก แล้วแต่จะเลือกตามสะดวกนะครับ

เมื่อคุณทราบแล้วว่าคุณมีความต้องการพลังงานเท่าไร คุณควรจะต้องรับประทานอาหารให้เพียงพอและพอเพียงต่อความต้องการรนะครับ

ในตอนต่อ ๆ ไป ผมจะมาบอกว่าอาหารแต่ละชนิดมีแคลลอรีเท่าไหร่ เพื่อคุณจะได้คำนวณมื้ออาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของคุณ นอกจากนี้แล้วในครั้งหน้าผมจะมาบอกเรื่อง ดัชนีมวลกาย(BMI) และ น้ำหนักในอุดมคติ (IBW) ด้วยครับ